วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เครื่องวัดแบบชี้ค่าศูนย์ กรณีโพเทนชิโอมิเตอร์





โพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer) กระแสตรงแบบกระแสคงที่

 

 


เป็นเครื่องวัดที่สำคัญในการวัดค่าแรงดันกระแสตรงที่ต้องการความถูกต้องสูงมาก โดยการเปรียบเทียบค่าที่ต้องการทราบกับค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลมาตรฐานและอัตราส่วนความต้านทานที่รู้ค่า
โพเทนชิโอมิเตอร์กระแสตรงได้เริ่มพัฒนาเมื่อประมาณปี ค.ศ.1900 จึงยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นเครื่อง มือที่สำคัญมากในห้องปฏิบัติการวัดละเอียดโดยใช้เป็นเครื่องวัดและสอบเทียบ มีการใช้งานอย่างกว้างขวางในงานอุตสาหกรรมในกระบวนการผลิตและควบคุมกระบวน การโดยเริ่มจากใช้ในการวัดอุณหภูมิร่วมกับ เทอร์โมคัปเปิล และขยายขอบเขตจนใช้วัดค่าตัวแปรในกระบวนการใดๆที่สามารถถูกแทนในรูปของแรงดันเอาต์พุตของตัวรับรู้ (Sensor)
โพเทนชิโอมิเตอร์ในแบบแรกๆจะเป็นแบบอาศัยการปรับสมดุลด้วยมือ (Manual) และพัฒนาขึ้นมาเป็นแบบสามารถ ปรับสมดุลโดยตัวเครื่องวัดเอง (Self Balance) ซึ่งทำให้สามารถขยายขีดความสามารถจากเครื่องวัดไปเป็นเครื่องควบคุม (Controller) วงจรโพเทนชิโอมิเตอร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ


1. แบบกระแสคงที่ (Constant Current Potentiometer)
2. แบบความต้านทานคงที่ (Constant Resistance Potentiometer)
ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงโพเทนชิโอมิเตอร์แบบกระแสคงที่ก่อน



1. โครงสร้างและหลักการทำงาน


 
 รูปที่1 โพเทนชิโอมิเตอร์แบบกระแสคงที่


หลักการของโพเทนชิโอมิเตอร์แบบนี้อาศัยการป้อนกระแสที่คงที่แก่ตัวต้านทาน (วงจรวัด) ที่อยู่ระหว่างจุดที่ ต่อค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ต้องการทราบค่า การปรับค่าความต้านทานดังกล่าวเป็นการปรับค่าแรงดันที่ใช้เปรียบเทียบกับแรง ดันที่ต้องการทราบค่า

รูปที่ 1 แสดงวงจรโพเทนชิโอมิเตอร์แบบกระแสคงที่อย่างง่าย วงจรนี้ประกอบด้วยแบตเตอรี่ E และรีโอสแตต (Rheostat) R ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นส่วนจ่ายกระแสคงที่แก่ลวดความต้านทาน XZ (Slide Wire) ซึ่งมีค่าความต้านทานที่มีค่าสม่ำเสมอตลอดความยาว กัลวานอมิเตอร์ G ทำหน้าที่ตรวจจับ (Detect) กระแส

เมื่อสวิตซ์ S อยู่ที่ “Operate”  และสวิตช์ K เปิดวงจร แบตเตอรี่จะจ่ายกระแสผ่านรีโอสแตต R และเส้นลวดความต้านทาน ค่าของกระแสจะขึ้นอยู่กับการปรับค่า R วิธีการหาค่าแรงเคลื่อนที่ไม่ทราบค่า (Exทำโดยการหาตำแหน่งของลวดความต้านที่ทำให้กัลวานอมิเตอร์ชี้ค่า 0 (Zero Deflection) เมื่อปิดสวิตช์ K ซึ่งหมายความว่า E = Ex ลวดความต้านทาน XZ จะมีความต้านทานสม่ำเสมอตลอดความยาว สเกลจะกูกปรับเทียบเป็นเซนติเมตร หรือส่วนของเซนติเมตรตลอดความยาวของเส้นลวด  ทำให้สามารถเลื่อนหน้าสัมผัสเลื่อนได้ (Sliding Contact) Y ไปอยู่ที่จุดใด ๆ บนเส้นลวดได้ตามต้องการอย่างเที่ยงตรง  เนื่องจากความต้านทานของเส้นบวดถูกสร้างให้มีความเที่ยงตรงมาก  ดังนั้นแรงดันตกคร่อมตบอดเส้น (หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง) ของเส้นลวด  จะขึ้นอยู่กับค่ากระแสที่จ่ายจาก E และค่ากระแสคงที่นี้จะถูกปรับมาตรฐาน (Standardized) โดยเทียบกับแรงดังอ้างอิงที่รู้ค่า (เซลมาตรฐาน)

วิธีการปรับมาตรฐานของโพเทนชิโอมิเตร์ (Standardizing Potentiometer) ทำดังนี้คือ สมมติให้เส้นบวดความต้านานยาว 200 เซนติเมตร มีความต้านทาน 200 โอห์ม (1 เซนติเมตร = 1 โอห์ม) แรงเคลื่อนของแรงดันอ้างอิงมาจากเซลมาตรฐาน มีค่า 1.019 โวลต์ เมื่อสวิตช์ S อยู่ที่ตำแหน่ง “ปรับเทียบ (Calibrate)”  จะตั้งหน้าสัมผัสเลื่อนได้ Y ให้อยู่ที่ระยะ 101.9 เซนติเมตร บนสเกลของเส้นลวดความต้านทาน ปรับรีโอสแตต R (เป็นการปรับค่ากระแสที่จ่ายจาก E ด้วย) จนกระทั่งกับวานอมิเตอร์ชี้ค่า 0 (เมื่อสวิตช์ K ปิด) ที่จุดนี้แรงดันตกค่อม 101.9 เซนติเมตร จะเท่ากับแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลมาตรฐานคือ 1.019 โวลต์ (101.9 เซนติเมตร = 101.9 โอห์ม)

          กระแสที่จ่ายจาก E   =   V/R   =  (1.019 V)/(101.9 Ω)  =  10 mA

หลังจากกรปรับมาตรฐานแล้ว  ขณะนี้แรงดันที่ตกคร่อมลวดความต้านทาน 1 เซนติเมตร = 10 mV และทำให้สามารถรู้ได้ว่า แรงดันตกคร่อมมีค่าเท่าใด เมื่อรู้ตำแน่งของหน้าสัมผัส Y เช่น ถ้าหน้าสัมผัส Y อยู่ที่ระยะ 146.5 เซนติเมตร (Y) แรงดันตกคร่อมมีค่า 1.465 โวลต์
ภายหลังจากปรับมาตรฐานตัวโพเทนชิโอมิเตอร์แล้ว  จะสามาระให้โดเทนชิโอมิเตอร์นี้วัดแรงดันที่ไม่ทราบค่าได้ (ตามตัวอย่าง ขณะนี้สามารถวัดแรงดันได้สูงสุด = 200 x 20 x 10-3 = 2 โวลต์) โดยตั้งสวิตช์ S ที่ “ทำงาน (Operate)” แล้วเคลื่อนหน้าสัมผัส (Sliding Contact) Y ไปตามความยาวของลวดความต้านทาน (XZ) จนกัลวานอมิเตอร์แสดงค่า 0 (เมื่อสวิตช์ K ปิด)  โดยการอ่านระยะบนสเกล จะสามาระรู้ค่าแรงดันตกคร่อม ซึ่งเท่ากับค่าของแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ต้องการหาค่า  


ตัวอย่าง 1 จากรูปที่ 1 ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าของแบตเตอรี่ E = 3V (ให้ความต้านทานภายในของแบตเตอรี่ = 0Ω) เส้นลวด (Slide Wire) มีความต้านทาน = 400Ω ยาว 200 cm ช่องเล็กที่สุดของสเกลที่แบ่งไว้ = 1 mm โดยสามารถอ่านค่า (Interpolate) ได้ถึง ¼ ของช่องเล็กที่สุด หลังจากการปรับมาตรฐานกระแส  โดยตั้งหน้าสัมผัสเลื่อนได้ที่ระยะ 101.8 cm บนสเกล  และใช้เซลมาตรฐานที่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า = 1.018 V จงหา

(ก)       ค่ากระแสจากแบตเตอรี่ (Working Current)

(ข)       ความต้านทานของรีโอสแตตที่ปรับ

(ค)       พิสัยการวัดขณะนี้

(ง)        การแยกชัคของเครื่องวัดขณะนี้เป็น mV



วิธีทำ

(ก)       เมื่อเครื่องวัดถูกปรับมาตรฐาน

แรงกันคร่อมลวด 101.8 cm มีค่า              =       1.018 V

ลวดยาว 200 cm มีความต้านทาน            =       400 Ω


ลวดยาว 101.8 cm มีความต้านทาน         =       (101.8/200)(400)    =    203.6 Ω

กระแสที่จ่ายแบตเตอรี่(Working Current)        =       (1.018/203.6)         =    5 mA

(ข)      แรงดันตกคร่อมตลอดความยาวของเส้นลวดความต้านทาน
                                                            =       5 mA x 400 Ω    =       2V
              แรงดันคร่อมรีโอสแตต             =       3 – 2                    =       1V
              ต้องตั้งรีโอสแตต                      =       (1 V/5 mA)           =       200 Ω

(ค)       พิสัยการวัดกำหนดจากแรงดันทั้งหมดที่คร่อมตลอดความยาวของลวดความต้านทาน
                                                =       5 mA x 400 Ω   =       2V
(ง)        การแยกชัดของเครื่องวัดขณะนี้ถูกกำหนดโดยแรงดันคร่อม ¼ ของช่องเล็ก (=0.25 mm)
          แรงดันคร่อมระยะ 200 cm =       2 V

                     การแยกชัด             =      (2 x 0.25 mm)/(200 mm)         =       0.25 mV




2. การใช้ตัวต้านทานสำหรับปรับมาตรฐาน


            โดยการต่อตัวต้านทานแยกออกต่างหาก (RS) ดังรูปที่ 2 การปรับมาตรฐานของโพเทนชิโอมิเตอร์จะสามารถกระทำได้อย่างสะดวกและผลอดภัยยิ่งขึ้น ค่าความต้านทาน RS ที่ต้องการ จะได้จากการคำนวณเมื่อกำหนดแรงเคลื่อนไฟฟ้า E แรงดันอ้างอิง ES และค่ากระแสที่จ่ายจาก E ที่ต้องการ เช่น ถ้าแรงดันอ้างอิง (เซลมาตรฐาน, ES) ที่ให้มีค่า 1.019 โวลต์ และต้องการปรับมาตรฐานของกระแสเป็น 5 mA จะต้องใช้ RS = 203.8 Ω ต่อที่ตำแหน่งดังรูปที่ 2



          ขณะนี้ ถ้าผลักสวิตช์ของกัลวานอมิเตร์ (G) มาตำแหน่ง “Calibrate” จะเป็นการลัดวงรตัวเซลมาตรฐาน (ซึ่งปกติจะยอมให้มีกระแสออกจากตัวเซลมาตรฐานเป็นไมโครแอมป์) จะเห็นได้ว่า วิธีนี้จะเป็นการป้องกันการลัดวงจรตัวเซลมาตรฐาน นอกจากนั้น โดยการต่อวงจรลักษณะนี้ จะทำให้สามารถตรวจสอบและปรับค่าของกระแสจ่ายจาก E ได้โดยไม่กระทบกระเทือนการวัด วงจรนี้จะเป็นพื้นฐานของโพเทนชิโอมิเตอร์แบบที่ใช้ในอุตสาหกรรม


  

รูปที่ 2 โพเทนชิโอมิเตอร์แบบมีตัวต้านทานสำหรับปรับกระแส


          โพเทนชิโอมิเตอร์ที่ใช้เส้นลวดความต้านทานในแบบที่ผ่านมา  จะไม่เป็นที่นิยมในทางปฏิบัติ ในรูปที่ 3 จะแทนเส้นบวดความต้านทานด้วยชุดตัวต้านทานค่าบะเอียดเที่ยงตรงทุกตัวมีค่าเท่ากันต่ออนุกรม (แทนค่าแรงดันเป็นขั้น (Step) ตามจำนวนตัวด้านทานที่ใช้) และต่ออนุกรมกับลวดความต้านทานอีก 1 เส้นเพื่อปรับค่าระหว่างขึ้น (Step) โดยแบ่งสเกลเป็นช่องเล็ก ๆ เช่น 100 ช่อง  ซึ่งสามารถประมาณให้อ่านค่าได้ถึง 1/5 ของช่องเล็ก RS มีไว้เพื่อปรับมาตรฐาน ค่าของ RS จะขึ้นอยู่กับว่า ต้องการสให้กระแสไหลจากแบตเตอรี่ (Working Current) เท่าใด  จึงจะได้แรงดันตกคร่อมตัวต้านทานแต่ละตัวที่ต้องการ (0.1 โวลต์ในรูปที่ 3)



 รูปที่ 3 โพเทนชิโอมิเตอร์แบบที่นิยมใช้


ตัวอย่างที่ 2 จากรูปที่ 3 โพเทนชิโอมิเตอร์มีสวิตช์หน้าปัด (Dial Switch) ที่ปรับได้ 20 ขั้น (Step) แต่ละขั้นประกอบด้วยตัวต้านทานค่าเท่ากัน = 10 Ω แทนแรงดัง = 0.1 V/ขั้น  มีเส้นลวดความต้านทาน (หมุนได้ 11 รอบ) มีขนาดสม่ำเสมอและความต้านทานทั้งหมดเท่ากับ 11 Ω มีสเกลแบ่งเป็น 100 ช่องเล็กและประมาณการอ่านได้ (Interpolation) ถึง 1/5 ของช่องเล็ก  โดยใช้แบตเตอรี่ที่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า = 6 V (ไม่คิดความต้านทานภายใน) จงหาค่า
          1.     พิสัยวัดของโพเทนชิโอมิเตอร์
        2.     การแยกชัดเป็น µV
          3.      กระแสที่จ่ายจากแบตเตอรี่ (Working Current)
          4.      การตั้งค่าของรีโอสแตต RB ถ้าแรงดันอ้างอิงที่ใช้ในการปรับมาตรฐานกระแสมีค่า 1.019 โวลต์

วิธีทำ
            1.        ความต้านทานรวมของวงจรวัด  =       (20 x 10) + 11 Ω

                                                                               =    211 Ω

                   เพราะว่าแต่ละขั้น (ตัวต้านทานค่า 10 Ω) ของสวิตช์หน้าปัดจะแทนแรงดัน   =    0.1 V

                        พิสัยวัดของโพเทนชิโอมิเตอร์นี้   =     20 x 0.1 + 0.11 = 2.11V

          2.        เส้นลวดความต้านทานมี 11 รอบ แทนแรงดัน  =  0.11 V

          ดังนั้นแต่ละรอบของเส้นบวดความต้านทานแทนแรงดัน =  0.01 V = 10 mV

            แต่บนหน้าปัดของเส้นลวดความต้านทานแบ่งสเกล  =  100 ช่องเล็ก(ใน 1 รอบ)

             ในแต่ละช่องเล็กของสเกลมีแรงดันตกคร่อม          (1/100)(10 mV)
 
                                                                                                 =  100 µV
         
                     การแยกชัดของโพเทนชิโอมิเตอร์นี้       =       (1/5)(100 µV)

                                                                                           =  20 µV

          3.      เพื่อจะให้ได้แรงดัน 0.1 V ตกคร่อมตัวต้านทาน 10 Ω จะต้องปรับให้มีกระแสจ่ายจากแบตเตอรี่ (Working Current) = 0.1 / 10 = 10 mA

          4.      ในการปรับมาตรฐานกระแส เพื่อให้มีกระแส 10 mA ผ่าน RS โดยแรงดันอ้างอิงเท่ากับ 1.019 โวลต์ ต้องใช้ RS เท่ากับ 0.019 V / 10 mA = 101.9 โอห์ม

                                       แรงดันคร่อม RS        =       1.019 V

          แรงดันคร่อมความต้านทานรวมของวงจรวัด    =       2.11 V

                                      แรงดันตกคร่อม RB    =       6 -2.11 – 1.019

                                                                         =       2.871 V

          ต้องตั้งรีโอสแตตให้มีความต้านทาน      =       (2.871 V)/(10 mA)

                                                                          =       287.1 Ω

3. โพเทนชิโอมิเตอร์สำหรับงานห้องปฏิบัติการ

            โพเทนชิโอมิเตอร์แบบนี้ จะสามารถใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของดันขนาด  1 µV หรือต่ำกว่า  โดยมีความถูกต้องต่ำกว่า 0.01 เปอร์เซ็นต์ ตัวต้านทานที่ใช้ในวงจรจะต้องเท่ากัน (ภายในความละเอียดระดับที่ต้องการ) ตลอดช่วงเวลาที่ยาว ในวงจร จุดสัมผัสที่ไม่ต้องถูกบัดกรีจะมีเพียงที่ตัวตรวจับ (Detector) และจุดที่ต่อแบตเตอรี่เข้าไป  เนื่องจากเป็นบริเวณที่การแปรค่าความต้านทานของจุดสัมผัสมีผลน้อยมากนอกจากนั้นจะต้องให้ความระมัดระวังเกี่ยวกับค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ไม่ต้องการ เช่น แรงเคลื่อนไฟฟ้าความร้อนที่จุดสัมผัสของโลหะต่างชนิดที่ขั้วต่อ (Binding Posts) เป็นต้น




รูปที่ 4 แสดงตัวอย่างของโพเทนชิโอมิเตอร์ที่ใช้งานในห้องปฏิบัติการ




โพเทนชิโอมิเตอร์เครื่องนี้ สามารถวัดแรงดันค่ำต่ำกว่า 100 mV ได้อย่างละเอียดถูกต้อง  นอกจากจะสามารถนำไปวัดค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ำ ๆ เช่น แรงเคลื่อนไฟฟ้าความร้อนแล้ว ยังสามารถใช้วัดค่ากระแสและความต้านทาน  โดยใช้ร่วมกับอุปกรณ์ช่วย เช่น ชันต์ (Shunt) และตัวต้านทานมารตฐาน (Standard Resistor) 


3.1  การกำหนดจำเพาะ (Specifications)


           1.      Measuring range

                        0.0100 mV to 111.110 mV (with more than four effective digits)

                        100 mV – Range     ;   - 0.01 mV to + 111.11 mV

                        10 mV – Range       ;   - 0.001 mV to + 11.111 mV

                        1 mV – Range          ;   - 0.0001 mV to + 1.1111 mV


            2.        Measuring dials

                        Dial  I                          ;   1 mV x 10

                        Dial  II                        ;   0.1 mV x 10

                        Dial  III                       ;   0.01 mV x 10

                        Dial  IV                       ;   0.001 mV to + 0.0110 mV

                                                      (Continuously variable, minimum division : 0.1 µV)

                        Range selector        ;   3 ranges of “100 mV” “10 mV” and “1 mv”

                                                               (with interlocked decimal point indicator)

Standard cell dial    ;   1.01770 V to 1.01980 V, continuously      variable (minimum division : 0.02 mV)


            3.        Internal resistance as seen from the side of galvanometer circuit

Approx. 18 Ω constant (where, the resistance beween Ex-terminals is 0 Ω)


            4.        - Source of working current

                        4.5 V to 4 V , 22 mA


            5.        Accuracy

                        100 mV – Range     ;   + (0.01 % of measured value + µV)

                        10 mV – Range       ;   + (0.02 % of measured value + 0.2 µV)

                        1 mV – Range          ;   + (0.02 % of measured value + 0.05 µV)

            where, the ambient temperature is kept within the scope of 20 ± 2.5°C


            6.        Dimensions and weight

310 x 491 x approx.. 205 mm, including the height of the rubber foot and the dial knob.

310 x 491 x 145 mm (case only)

Approx. 11.1 kg

3.2  แผงด้านหน้า (Front Panel) 

            พิจารณารูปที่ 5.6 ตามหมายเลขกำกับดังนี้ 1, 2, 3, 4 หน้าปัด I, II, III และ IV

ค่าของแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ต้องการทราบ จะแสดงเป็นตัวเลขในช่อง


5. ตัวเลือกพิสัย

      ตั้งเลือกพิสัยการวัดที่ต้องการ ตำแหน่งจองจุดทศนิยมจะสัมพันธ์กับพิสัยวัดที่เลือก


6. หน้าปัดเซลมาตรฐาน (ES – Dial)

ใช้ร่วมในการปรับมาตรฐานกระแส (Working Current) จะต้องตั้งที่ค่า  แรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลมาตรฐาน


7.  ตัวปรับกระแส (Current ADJ)

สำหรับปรับค่ากระแสเรียงตามลำดับจากหยาบ (Coarse) กลาง (Medium) และละเอียด (Fine)


8. สวิตช์เลือกแรงดัน (EX – ES)

ต้งที่ ES เมื่อต้องการปรับมาตรฐานกระแส ที่ EX เมื่อต้องการวัดค่าแรงเคลื่อนที่ต้องการทราบค่า


            9.  สวิตช์เลือกขั้ว ES’ EX’ BA (NOR – REV)

                สำหรับกลับขั้วของ ES’ EX’ และ BA


          10. สวิตช์เลือกความไวของกัลวานอมิเตอร์

เป็นสวิตช์แบบปุ่มกด ความไวจะเพิ่มขึ้นจาก G2 ไปถึง G0’ GS จะใช้เมื่อต้องการลัดวงจร (Short Circuit) ตัวกัลวานอมิเตอร์ และสามารถจะให้สวิตช์เหล่านี้ค้างอยู่  โดยการหมุนตามเช็มนาฬิกา ขณะกดสวิตช์นี้ลง


           11. ขั้วต่อ “EX

                 สำหรับต่อแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ต้องการวัดค่า


          12. ขั้วต่อ “BA”

                     สำหรับต่อแบตเตอรี่


           13. ขั้วต่อ “GA” และขั้วต่อ “GA Guard”

                 “GA” สำหรับต่อกัลวานอมิเตอร์และ

                    “GUARD” สำหรับต่อวงจรคุ้มกัน


           14. ขั้วต่อ “BA GUARD”

                 เป็นขั้วต่อคุ้มกันสำหรับแบตเตอรี่


            15. ขั้วต่อ “ES

                 สำหรับต่อเซลมาตรฐาน


            16. ขั้วต่อลงดิน

ขั้วต่อนี้จะตอกับแผงหน้า (Panel) และกล่อง (Case) อยู่ภายใน สำหรับต่อลงดินภายนอก



รูปที่ 5 จะแสดง Schematic Diagram ของโพเทนชิโอมิเตอร์

3.3  การปรับมาตรฐานกระแส (Standardization)

1.  ให้ G0’ G1’ G2’ GS อยู่ที่ตำแหน่ง “OFF” พิจารณาตำแหน่งเข็มของกัลวานอมิเตอร์ว่าชี้ที่ศูนย์หรือไม่
2.  ต่อเซลมาตรฐาน ปรับ ES – dial ตามค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลมาตรฐาน
3.  ตั้งสวิตช์เลือกแรงดัน (ES – EX) ที่ “ESต่อแบตเตอรี่ให้ถ฿กขั้ว กด “G2(แล้วปล่อย) เพื่อให้รู้ทิศทางของการปรับที่จำเป็น  ขณะนี้ขอแนะนำให้ตั้งค่ากระแสก่อนให้มีค่าประมาณ 22 mA โดยใช้แอมมิเตอร์วัด  (ในกรณีที่ใช้แหล่งกำเนิดกระแสคงที่  ให้ปรับที่ตัวแหล่งกำเนิดให้จ่ายกระแส 22 mA) ปรับกระแสโดย “Coarse” และ “Medium” เพื่อให้ได้การสมดุลอย่างหยาบ เพิ่มความไวของกัลวานอมิเตอร์โดยใช้ G1’ G0 ปรับกระแสโดยใช้ “Medium” และ “Fine” จนกระทั่งกัลวานอมิเตอร์ชี้ค่าศูนย์ การกด G2’ G1’ G0 ควรจะใช้เวลาน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อให้การถ่ายเทประจุจากเซลมาตรฐานมีค่าน้อยที่สุด (กระแสที่ผ่านเซลมาตรฐานควรน้อยกว่า 1 µA)
หมายเหตุ
            ขณะปรับมาตรฐานกระแส หน้าปัด I, II, III และตัวเลือกพิสัย จะอยู่ที่ตำแหน่งใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม dial IV ควรอยู่ภายใน -1 ถึง +11

3.4  การวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ไม่ทราบค่า

          1.  ให้ G0’ G1’ G2 GS อยู่ที่ตำแหน่ง “OFF” ตั้ง (ES – EX) ที่ “EX
          2.  ตั้งหน้าปัด I, II, III ร่วมกับตัวเลือกพิสัย (อ่านค่าโดยตรงจากตัวเลขในช่องของแต่ละ dial)  ตามค่าประมาณของแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่คิดว่า  จะเป็นการเพิ่มความไวของกัลวานอมิเตอร์จนสมดุล กระทำเช่นเดียวกับในขณะปรับมาตรฐานกระแส ค่าที่วัดได้ขณะนี้คือ EA
          3.  กลับสวิตช์เลือกขั้ว “ES’ EX’ BA NOR – REV” ปรับสมดุลอีกครั้งค่าที่วัดได้ขณะนี้คือ EB
          4.  ค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ต้องการจะเป็นค่าเฉลี่ยของ EA และ EB ตรวจสอบกระแสมาตรฐานอีกครั้ง

3.5  การวัดค่ากระแส

โดยใช้ชันต์ต่อ รูปที่ 6 ชันต์ที่ใช้จะมีค่ากระแสพิกัด (Rated Current) ให้เลือกหลายขนาด เช่น 2, 5, 10, 20, 50, และ 100 A เป็นต้น  โดยจะต้องรู้ว่า ชันต์ที่เลือกใช้มีแรงกันตกคร่อมเท่าใดในขณะที่มีกระแสพิกัดผ่าน และจะต้องไม่เกิน 100 mV  ซึ่งเป็นค่าที่โพเทนชิโอมิเตอร์นี้วัดได้ค่ากระแสที่ผ่านชันต์จะหาได้จากการวัดค่าแรงดันที่ตกคร่อมชันต์  โดยต่อขั้วแรงดันของชันต์เข้าที่ขั้ว “EX” ของโพเทนชิโอมิเตอร์


รูปที่ 6 แสดงการใช้ชันต์ร่วมในการวัดกระแส


3.6  การวัดค่าความต้านทาน

          1.  เราสามารถวัดค่าความต้านทาน โดยการเปรียบเทียบแรงดันตกคร่อมตัวต้านทานมาตรฐานกับตัวต้านทานที่ต้องการทราบว่า (เมื่อให้กระแสค่าเดียวกันไหลผ่าน) โดยการต่อวงจร ดังรูปที่ 7 จะสามารถห่าค่า RX ได้จาก



RX       =      (EX/ Es) RS


            เมื่อ RX            :           ตัวต้านทานที่ไม่ทราบค่า

                   RS             :        ตัวต้านทานมาตรฐาน



รูปที่ 7 แสดงการวัดความต้านทานโดยการเปรี่ยบเทียบแรงดัน





            พิสัยที่สามารถวัดค่า  จะถูกจำกัดโดยกระแสที่ยอมให้ผ่านตัวต้านทานทั้งสอง (ค่าความต้านทานควรมีค่าไม่เกิน 1,000 Ω ในกรณีนี้) เลือกค่ากระแสที่พอเหมาะ เพื่อให้แรงดันตกคร่อมตัวต้านทานไม่เกินพิสัยวัดของโพเทนชิโอมิเตอร์ ค่าแรงดันตกคร่อมที่เหมาะสมประมาณ 100 mV


          2.  ในการวัด ถ้าเป็นไปได้ควรจำการวัดแบบ 4 ขั้วต่อ คือ แยกขั้วต่อกระแสและแรงดันออกจากกัน


        3.  ในการวัดวิธีนี้ ไม่จำเป็นต้องปรับมาตรฐานกระแสของโพเทนชิโอมิเตอร์ไปยังค่าที่จำเพาะ (22 mA) ถ้า Working Current คงที่อยู่ภายใน 20 ถึง 30 mA ค่าที่จะถูกวัดจะไม่ถูกกระทบกระเทือน


4. โพเทนชิโอมิเตอร์สำหรับอุตสาหกรรม


            โพเทนชิโอมิเตอร์แบบนี้ ใช้ในงานที่ต้องการความละเอียดรองลงมา  แต่ถูกออกแบบให้แข็งแรงสำหรับใช้งานในโรงงาน  ค่าทีอ่านจะถูกปรับเทียบให้อยู่ในรูปปริมาณที่ต้องการ เช่น อุณหภูมิ ความดัน และอื่น ๆ ในรูปที่ 8  จะแสดงวงจรหนึ่งของโพเทนชิโอมิเตอร์ที่ใช้ในอุตสหากรรม  โดยออกแบบสำหรับงานเฉพาะอย่าง เช่น ใช้วัดอุณหภูมิจาก 400 ถึง 1000 องศาเซลเซียส  โดยใช้เทอร์โมคัปเปิลชนิด Iron-constantan ในวงจรนี้ กระแสจากแบตเตอรี่จะแยกไหลเป็น 2 สาขา (Branch) ในการออกแบบ จะให้กระแสในแต่ละสาขาเท่ากัน  ดังนั้นความต้านทานรวมในแต่ละสาขาจะเท่ากัน




รูปที่ 8 โพเทนชิโอมิเตอร์สำหรับอุตสาหกรรม




          สาขาแรกประกอบด้วยตัวต้านทาน R1’ R2 ขนานกับ W และ R3 อีกสาขาหนึ่งประกอบด้วย ตัวต้านทาน RS และ Rn ความต้านทานรวม RS + Rn ทำหน้าที่ปรับมาตรฐานกระแส (ให้มีค่าตามที่ต้องการ) ค่าความต้านทาน Rn จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของจุดต่ออ้างอิง (Reference Junction) ที่เลือก Rn อาจเป็นเส้นลวดตัวต้านทาน (Slide Wire) และถูกปรับเทียบเป็นมิลลิโวลต์ ซึ่งสามารถถูกตั้งโดยมือ  (Manually) ให้มีค่าเหมาะที่จะชดเชยตลอดช่วงอุณหภูมิของจุดต่ออ้างอิง R1 จะเลือกสำหรับชดเชยอุณหภูมิปลายช่วงวัด (กรณีนี้คือ 400 องศาเซลเซียส) การปรับของ W (ที่ต่อขนานกับ R2) จะต้องสามารถครอบคลุม Span ของการวัด (1,000 – 400 = 600 องศาเซลเซียส)  ค่าของ R3 คือ ความต้านทานที่ใส่เข้าไป เพื่อทำให้ความต้านทานรวมในแต่ละสาขาเท่ากัน

รูปที่ 9 วงจรโพเทนชิโอมิเตอร์แบบปรับสมดุลด้วยตัวเอง




            รูปที่ 9 แสดงโพเทนชิโอมเตอร์ที่ปรับสมดุยด้วยตัวเอง  ซึ่งใช้เครื่องแปลงผันแบบชอปเปอร์ (Chopper Type Converter) แทนกัลวานอมิเตอร์ในเครื่องวัดแบบปรับด้วยมือ รูปที่ 8 แรงดันไม่สมดุลจะถูกป้อนสู่วงจรขยายโดยผ่านเครื่องแปลงผัน เอาต์พุตของวงจรขยายจะไปขับมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบสองเฟส ซึ่งจะขับตัวเลื่อน (Slider) ของโพเทนชิโอมิเตอร์ไปสู่ตำแหน่งสมดุล ตัวแปลงผันจะอยู่ระหว่างเอาต์พุตของโพเทนชิโอมิเตอร์และอินพุตของวงจรขยาย  และทำหน้าที่แปลงแรงดันกระแสตรงที่ไม่สมดุลเป็นแรงดันกระแสสลับไม่สมดุล  ซึ่งจะถูกขยายโดยวงจรขยายไฟสลับ


            วงจรในรูปที่ 9 จะใช้สำหรับวัดอุณหภูมิโดยเทอร์โมคัปเปิล ลิ้น (Reed) ที่สั่นของเครื่องแปลงผัน (หมายเลข 1) จะถูกขัยโดยแรงดันสายความถี่ 60 เฮิรตซ์ ให้ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ ซึ่งจะกลับกระแสที่ผ่านขดลวดปฐมภูมิที่แยกกันของหม้อแปลงอินพุต ทุกครั้งที่สิ้นสั่น ผลก็คือ เอาต์พุตของหม้อแปลงจะมีแรงดัน 60 เฮิรตช์ (ซึ่งเป็นสัดส่วนอินพุตกระแสตรงของเครื่องแปลงผัน) และถูกป้อนเข้าสู่วงจรขยาย (1) เอาต์พุตจากวงจรขยาย (1) จะป้อนเข้าสู่ขดควบคุม (Control Winding) ของมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบสองเฟส แรงดันที่ป้อนแก่ขดกระตุ้น (Exciting Winding) จะมาจากแรงดันสาย (Line Voltage) ที่ถูกเลื่อนเฟสไป 90°  เนื่องจากตัวเก็บประจุที่ต่อนุกรมอยู่กับขดกระตุ้น  ขณะนี้เฟสของแรงตันเอาต์พุตจากวงจรขยาย (1) จะนำหรือตามแรงดันคงที่ที่ขดกระตุ้นประมาณ 90° ขึ้นอยู่กับขั้วของแรงดันกระแสตรงไม่สมดุล  ที่ป้อนเข้าสู่อินพุตของเครื่องแปลงผัน  ทำให้ทิศทางการหมุนของมอเตอร์ถูกกำหนดโดยความสัมพันธ์เฟสระหว่างสองแรงดันที่ขดลวดทั้งสอง  ถ้าแรงเคลื่อนที่ต้องการวัดค่า EX มากกว่าแรงดันปรับสมดุลที่สร้างโดยโพเนชิโอมิเตอร์  มอเตอร์จะหมุนในทิศทางหนึ่ง  ถ้า EX น้อยกว่าแรงดันปรับสมดุล เอาต์พุตจากวงจรขยาย (1) จะเลื่อนไป 180° ทำให้มอเตอร์หมุนกลับอีกทิศหนึ่ง  แกนหมุนของมอเตอร์จะต่อทางกลอยู่กับตัวเลื่อนในลักษณะที่การหมุนของมอเตอร์จะบดการไม่สมดุลในวงจรโพเทนชิโอมิเตอร์  การหมุนจะหยุดเมื่อเข้าสู่สภาวะสมดุลหรือกระแสความคุมเป็นศูนย์  เมื่อกระแสของโพเทนชิโอมิเตอร์ถูกรักษาให้คงที่ (ที่สมดุล) ตำแหน่งของตัวเลื่อน C จะแสดงอุณหภูมิ ถ้าต่อเชื่อมทางกล มอเตอร์กับกลไกของปากกา การเคลื่อนของตัวเลื่อนจะกลายเป็นการเคลื่อนที่ของปากกาอย่างต่อเนื่อง


            เนื่องจากเราจะต้องรักษากระแสทางด้านโพเทนชิโอมิเตอร์และในความต้านทานชดเชยRn ให้คงที่สำหรับแหล่งกำเนิดกระแสคงที่จะทำการเรียงกระแส และทำให้เรียบเป็นกระแสกระแสตรง  ในการรักษาให้เป็นกระแสกระแสตรงที่มีค่าคงที่ เราจะคุมค่า (Regulate) กระแสโดยอัตโนมัติ  โดยวงจรปรับกระแสอ้างอิงซึ่งในรูปประกอบด้วย เซลมาตรฐาน EX ส่วนของเครื่องแปลงผัน หม้อแปลงอินพุต วงจรขยายกระแสสลับ (2) วงจรเรียงกระแส แบะวงจรกรอง


            เราจะใช้ความต้านทาน R ในการตรวจสอบว่า ค่ากระแสถูกต้องหรือไม่ สมมติว่า R ทำให้กระแสในตัวมัน (1) เท่ากับใน Rn ถ้ารักษากระแสใน Rn ให้มีค่าคงที่ ดังนั้นกระแสนใน R จะคงที่ด้วย ค่าของ R จะถูกกำหนดในลักษณะที่เมื่อกระแสมาตรฐานไหลผ่านตัวมัน  แรงดันตกคร่อมมันจะเท่ากับแรดันของเซลมาตรฐานหรือ



                                           Vg     =       RI                =       ES                                   (1)



          เมื่อกระแส I กลายเป็น I เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของแรงดันแหล่งกำเนิด อินพุตของวงจรขยาย (2) จะกลายเป็น



                                            Vin    =       ES – VR      =       R (I - I)                         (2)


          ซึ่ง Vin นี้จะถูกขยายและถูกเรียงกระแส และ (I - I) ก็จะถูกกำจัดออกไปจากวงจร กระแสของวงจรจะอยู่ภายใน  I ± 0.1 % เมื่อแรงดันแหล่งกำเนิดอยู่ภายใน 100 ± 10 V







เอกสารอ้างอิง

1. หนังสือการวัดและเครื่องวัดไฟฟ้า โดย รศ.ดร.เอก ไชยสวัสดิ์
2. http://www.allaboutcircuits.com/vol_6/chpt_3/7.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น