10 เทคนิคผิดๆในการใช้งานโพเทนชิโอมิเตอร์
คุณมั่นใจแล้วหรือว่ารู้จักโพเทนชิโอมิเตอร์ดีพอแล้ว ? ลองอ่านดูก่อน คุณอาจจะนึกถึงความผิดพลาดในอดีตได้ บ้าง และ จะได้ไม่ทำผิดพลาดซ้ำอีก
โพเทนชิโอมิเตอร์ ( potentiometer ) หรือ ที่นิยมเรียก ( อย่างผิดๆ ) กันสั้นๆ ว่า โวลุ่ม นั้น เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ กันมาก ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย. อุปกรณ์ตัวนี้เป็นตัวต้านทานที่ปรับค่าได้. นิยมใช้เป็นตัวปรับค่าแรงแรงดัน กระแส ความพี่ ฯลฯของวงจรที่มันทำหน้าที่อยู่
เราจะเรียกอุปกรณ์ตัวนี้ สั้นๆ ว่า พ็อต ( pot ) ซึ่งย่อมาจากคำว่า โปเทนวิโอมิเตอร์นั่นเอง. ส่วน โวลุ่ม (volume ) นั้น จะใช้เรียกก็เฉพาะในกรณีที่นำพ็อตมาปรับเสียงดังค่อยในเครื่องขยายเสียงเท่านั้น
พ็อตแบบหนึ่งที่เราเห็นกันก็คือ แบบที่ใช้ ทำหน้าที่ปรับแต่ง เป็นครั้งคราว ซึ่งบางทีก็เรียกว่า ทริมเมอร์ (trimmer ) พ็อตประเภทนี้ก็มีหน้าตาต่างๆกัน ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 พ็อตซึ่งใช้ในงานปรับแต่งเป็นครั้งคราว
ส่วนพ็อตในบ้านเราที่เห็นกันชินตาก็คือ แบบที่ใช้ในการควบคุมทั่วๆไป. ตามที่แสดงไว้ในรูปที่
2 พ็อต แบบนี้ใช้กับงานที่ ต้องการเปลี่ยนค่าอยู่บ่อยๆ เช่น พวกปุ่มปรับเวลาของวงจรตั้งเวลา
ปุ่มปรับแรงดันของเครื่องจ่ายไฟตรง เป็นต้น
รูปที่ 2 พ็อตที่ใช้ในงานควบคุมชนิดต่าง
ๆ
พ็อต
แต่ละแบบ ก็มีความละเอียด และ ความแม่นยำแตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้ซื้อจะต้องเป็นผู้พิจารณาเอาเอง
ว่าควรจะเลือก ใช้แบบใด
รูปที่ 3 แสดงลักษณะการจับยึด
และเดือยล็อคของพ็อต
ปัญหาในการใช้งานพ็อตให้ถูกที่
และ ถูกวิธีนั้นเป็น ปัญหาสำคัญที่ นักอิเลกทรอนิกส์ไม่ควรมองข้ามไปเสีย
เพราะ การใช้ อุปกรณืได้อย่างถูกต้องมีหลักการนั้นย่อมจะนำไปสู่คุณภาพที่ดี
ของผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตออกมาด้วย ข้อบกพร่องในการใช้ที่เกิดขึ้น บ่อยๆ พอจะนำมาเล่าสู่กันฟังทีละเรื่องๆ
ดังต่อไปนี้ โดยจะเน้นเฉพาะพ็อตที่ใช้เป็นปุ่มควบคุม
รูปที่ 4 การไม่เจาะรูเผื่อเดือยล็อกจะทำให้แกนพ็อตเอียง
1.
การไม่เจาะเดือยล็อค เดือยล็อคของพ็อตเป็นปุ่มที่สำคัญมาก เพราะทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันไม่ให้ตัวพ็อตหมุน
เคลื่อนขณะใช้งาน. ถ้าเราไม่เจาะรูเล็กๆ บนแผ่นยึดพ็อตเผื่อให้เดือยอันนี้แล้ว.
ขณะใช้งานพ็อตอาจจะเลื่อนหลวมได้ ทำให้การ ปรับผิดพลาดไปหมด และ ยิ่งกว่านั้น
เดือยนี้ จะมาเกยกับแผ่นยึดพ็อตทำให้แกนหมุนของพ็อต เอียงไม่ตั้งฉากกับแผ่นยึด
เมื่อเรา ขันนอต ( nut -ภ าษาตลาดมักเรียกว่านอตตัวเมีย ) ให้แน่นลงไปก็จะเกิดแรงเค้นขึ้น
ที่ตัวพ็อต ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาตามขึ้น มาในภายหลัง. ฉะนั้นอย่าลืมเป็นอันขาด
ก่อนใส่พ็อตทุกครั้งให้เจาะรูเผื่อเดือยล็อคนี้ด้วยทุกครั้งไป
รูปที่ 5 แสดงการจับยึดแบบผิดวิธี
ในการเลี่อยแกนพ็อตออก
3. ลูกบิดใหญ่เกินตัว ผู้ใช้พ็อตส่วนใหญ่มักจะลืมนึกไปว่า ถ้าแรงบิดที่บิดแกนพ็อตไปนั้นมากเกิน ไปตัวพ้อต จะเสียหาย ได้ ฉะนั้น ให้สังเกตุดูว่าถ้าแกนหมุนของพ็อตเล็ก ลูกบิดที่ใช้ก็ควรมีขนาดเล็กลง
รูปที่ 6 อย่าเห็นพ็อตเป็นขาตั้งเห็นพ็อตเป็นหูหิ้วไปได้
รูปที่ 7 ใช้พ็อตเป็นตัวยึดวัสดุ
2 แผ่น
6. ให้ความร้อนเกินขนาด ขณะบัดกรี สายไฟเข้ากับขั้วของพ็อต ถ้าใช้หัวแร้งบัดกรีขนาดใหญ่ ให้ความร้อนสูงมากๆ แล้วอาจจะทำให้อุปกรณ์บางส่วนในตัวพ็อตละลาย หรือ เสียหายได้. ยิ่งถ้าเป็นพ็อตชนิดที่มีพลาสติก เป็นส่วนประกอบด้วยแล้ว ก็ ไม่ต้องห่วงเลย. เวลาบัดกรีเสร็จแล้วคงจะเสียไปเลย ก็ขอแนะนำให้ใช้หัวแร้งบัดกรี ขนาดพอสมควร แต่ก็ยังต้องคำนึงถึงความ ร้อนในการบัดกรีอีกโดยอย่าบัดกรีแช่เป็นเวลานานๆ เกินความจำเป็น
7. การใช้ฟลั๊กซ์ และ สารชะล้างมากเกินไป นักบัดกรีทุกๆคนก็คงจะทราบดีแล้วว่า สารที่ช่วยให้ การบัดกรีได้ ผลดีขึ้นก็ คือฟลั๊กซ์ ( flux ) นั่นเอง. ถ้าเราใช้ตะกั่วบัดกรีแบบมีไส้ ฟลั๊กซ์อยู่ตรงกลาง ปัญหานี้ก็จะหมดไป แต่ถ้าเราใช้ ฟลักซ์ แบบตลับแล้ว ต้องระวังอย่าใช้ฟลักซ์เกินความจำเป็น เพราะฟลักซ์ที่เกินพอนี้ อาจจะหลุดเล็ดลอดเข้าไป ภายในตัวพ็อตได้ ซึ่งแน่ ละ ผลที่ตามมา ก็คือ หน้าสัมผัสภายในสกปรก ทำให้เกิดการเปลี่ยนค่าความต้านทานในบางช่วงได้ หรือ ในบางกรณีอาจจะถึง ขั้นสกัดกั้นการไหล ของกระแสในตัวพ็อตเลยทีเดียว
เมื่อต้องมี การใช้ฟลั๊กซ์ในการบัดกรี จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องล้สงเศษหลงเหลือของฟลั๊กซ์ออก ซึ่งในการนี้ก็ต้องยกให้ เป็นหน้าที่ของสารละลายที่ใช้ ในการชะ - ล้าง ( solvent ) การใช้สารละลายต้องระวังให้มาก โดยเฉพาะเมื่อมีพ็อตเข้ามา เดี่ยวข้องด้วย เพราะ วัสดุในตัวพ็อตบางชนิดไม่ถูกกับสารละลายเลย. ถ้าทีอันต้องมาเจอะเจอกัน ก็ต้องพังกันไปข้างหนื่ง สาร ละลายนี้มีหน้าที่โดยตรงในการชำระล้างฟลั๊กซ์ให้หมดสิ้นไป. ถ้าเราชโลม หรือ ฉีดสารละลายลงไปบนวงจร ฟลั๊กซ์ เหล่านี้ก็จะ ถูกละลายเข้าไปด้วยกัน และ ก็อาจมีสารละลายบางส่วนที่ไหลซึมเข้าไปในตัวพ็อต. หลังจากสารละลาย ระเหยไปหมดแล้ว ฟลั๊กซ์ ในสารละลายจะถูกทอดทิ้งไว้ที่หน้าสัมผัสต่างๆ ภายในตัวพ็อต ซึ่งแน่ละ เป็นสิ่งที่เราไม่ต้องก
ฉะนั้น จะเป็นการดีถ้าเราจะล้างสิ่งสกปรก ออกจากวงจรก่อนจะติดตั้งพ็อตลงไป. สารละลายที่นิยมใช้ใน การชะล้างทั่ว ๆ ไปผู้ขายมักจะบอกเป็นชื่อ การค้า ทำให้ผู้ซื้อไขว้เขวเกี่ยวกับสารเคมีจริงๆ. ฉะนั้นก่อนซื้อควรดูชื่อ ทางเคมีมากกว่าชื่อทางการค้า. ตารางที่ 1 เป็นชื่อเคมีของสารละลายที่ควรใช้ และ ไม่ควรใช้
8. กระแสไหลเกินขนาด ถ้าวงจรถูกออกแบบมาไม่ดีพอก็มีโอกาสอยู่มากที่จะมีกระแสไหลผ่านพ็อตเกินกว่าที่ มันจะ ทนได้ ตัวอย่างเช่น วงจรในรูปที่ 8 ซึ่งเป็นวงจรที่พยายามจะจ่ายกระแสโหลด RL D1 เป็น ซีเนอร์ไดโอดที่สร้าง แรงดันที่คง ที่เพื่อควบคุมให้กระแสที่ไหลใน RL มีค่าคงที่ ถ้า RP มีค่ามาก กระแสที่ไหลผ่าน RL ก็จะน้อย. แต่ถ้าเมื่อมดก็ตามที่ RP ถูก ปรับให้มีค่าความต้านทานน้อย ( หรือ น้อยจนเป็นศูนษ์เลยก็ได้ ) กระแสที่ไหลผ่าน RL ผ่านทรานซิสเตอร์ และ ขาของพ็อตก็จะ มีค่ามาก จนทำให้อุปกรณ์ที่กล่าวถึงเสียหายได้. ฉะนั้น อย่าลืมต่อตัวต้านทาน ค่าคงที่อนุกรมกับ RP เสมอเพื่อจำกัดกระแส ไหลผ่านพ็อตให้อยู่ในช่วงที่พอเหมาะ
รูปที่ 8 การต่อตัวต้านทานจำกัดกระแสให้พ็อต
รูปที่ 9 การใช้มัลติมิเตอร์วัดค่าความต้านทานของพ็อตจากขากลางไปยังอีกปลายด้านหนึ่ง
อาจทำให้กระแสไหลผ่านพ็อตเกินกว่าขนาดที่จะทนได้
ตารางที่ 1
10. ใช้แรงดันเกินขนาด อันนี้เป็นข้อระวังอีกข้อหนึ่งถ้าป้อนแรงดันให้พ็อต มากกว่าค่าที่ผู้ผลิตระบุมาแล้ว. อาจจะ เกิดการลัดวงจรระหว่างตัวพ็อต กับส่วนหนึ่งที่เป็นหน้าสัมผัสภายใน. ผลอันนี้อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ ใช้ได้ถ้าตัวถังของ พ็อตไม่ได้ลงกราวด์ และ ลูกบิดเป็นโลหะ
เอกสารอ้างอิง
- http://electronics.se-ed.com/contents/345s029/345s029_p01.asp
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น