บริดจ์ความเหนี่ยวนำไฟฟ้า
1.บริดจ์แบบเปรียบเทียบ
เป็นวงจรบริดจ์แบบบริดจ์อัตราส่วน ที่ใช้วัดค่าความเหนี่ยวนำของขดลวดที่ไม่ทราบค่า โดยอาศัยการเปรียบเทียบกับตัวเหนี่ยวนำมาตรฐาน
เป็นวงจรบริดจ์แบบบริดจ์อัตราส่วน ที่ใช้วัดค่าความเหนี่ยวนำของขดลวดที่ไม่ทราบค่า โดยอาศัยการเปรียบเทียบกับตัวเหนี่ยวนำมาตรฐาน
วงจร Comparison Bridge |
จากวงจร Comparison Bridge
R x = ( R1/R2 ) R s
L x = (R1/R2) L s
แต่วงจรนี้ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากจะต้องมีตัวเหนี่ยวนำมาตรฐาน (Ls) ที่มีความถูกต้องและเสถียรสูง ซึ่งจะมีราคาแพงมาก ดังนั้นจะเปลี่ยนแปลงวงจรเพื่อให้สามารถใช้ตัวเก็บประจุมาตรฐานแทน
จะเหมาะสำหรับวัดตัวเหนี่ยวนำที่มีค่า Q ต่ำ คือ อยู่ช่วง 1 < Q < 10 บริดจ์แบบนี้จะเป็น บริดจ์ผลคูณซึ่งวัดความเหนี่ยวนำโดยเปรียบเทียบกับความจุไฟฟ้ามาตรฐาน
วงจร Maxwell Bridge |
จากรูป เมื่อบริดจ์สมดุล จะได้
R x = (R1R2) (1/Rp)
L x = (R1R2) C p
บริดจ์แมกซเวล เป็นวงจรที่เหมาะเป็นพิเศษสำหรับการวัดค่าความเหนี่ยวนำ เพราะ ตัวเก็บประจุจะมีโอกาสใกล้ตัวเหนี่ยวนำในอุดมคติซึ่งไม่มีการสูญเสีย ได้มากกว่าการเลือกใช้ตัวเหนี่ยวนำมาตรฐาน นอกจากนั้นสมการการสมดุลเพื่อหาค่าความเหนี่ยวนำ จะเป็นอิสระต่อการสูญเสียที่ร่วมกับความเหนี่ยวนำและเป็นอิสระต่อความถี่ของการวัด ในวงจรปกติจะใช้ความจุมาตรฐานที่คงที่สมดุลของค่าความเหนี่ยวนำ ทำโดยการปรับ R 2 (สเกลของ R 2สามารถปรับเทียบให้อ่านค่าเป็นค่าความเหนี่ยวนำได้โดยตรง) การสูญเสีย (Loss) คือ R x สามารถหาได้โดยการปรับ R s เมื่อวงจรบริดจ์ถูกให้ทำงานที่ความถี่จำเพาะหนึ่ง จะสามารถปรับเทียบสเกลของ R x ให้อ่านเป็นค่า Q ของตัวเหนี่ยวนำโดยตรง
โดยอาศัยสมก
Q = ( ωLx ) / (Rx)
= ωCpRp
Q = ( ωLx ) / (Rx)
= ωCpRp
การใช้ค่าความจุไฟฟ้ามาตรฐานแบบคงที่จะมีข้อเสียคือ จะมีผลต่อกันระหว่างการปรับสมดุลของความต้านทานกับรีแอกแตนซ์ ซึ่งจะสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการแปรค่าความจุ เพื่อให้ได้การสมดุลของสมการ แทนที่จะปรับค่า R แต่อย่างไรก็ตาม ผลที่ตามมาคือ ในกรณีนี้บริดจ์จะไม่สามารถปรับเทียบค่าให้อ่านค่า Q ได้โดยตรง นอกเหนือจากนั้น ในกรณีที่ต้องการตัวเก็บประจุแบบที่สามารถแปรค่าได้อย่างต่อเนื่อง (ที่มีค่าวความจุสูงๆ) โดยปกติจะใช้กล่องปรับค่าความจุ ( Decade Capacitance Box ) ซึ่งจะทำให้ความถูกต้องที่ได้ต่ำกว่าเมื่อใช้แบบค่าความจุคงที่
3. บริดจ์เฮย์
จะเหมาะสำหรับใช้ตัวเหนี่ยวนำที่มีค่า Q สูง คือ อยู่ในช่วง 10 < Q < 1,000 บริดจ์แบบนี้จะวัดค่าความเหนี่ยวนำโดยการเปรียบเทียบกับความจุไฟฟ้า เช่นเดียวกับบริดจ์แมกซเวล ต่างกันที่ตัวต้านทานมาตรฐานและตัวเก็บประจุมาตรฐาน จะต่ออนุกรมกันโดยการใช้ความสัมพันธ์วงจรสมมูลระหว่างR, C ขนานกับอนุกรม ตามสมการ
C p = [ 1/(1+D^2 ) ] C s __________________________________(1)
R p = [ (1+D^2)/D^2 ] R s ____________________________(2)
วงจร บริดจ์เฮย์ |
เมื่อ D = ωCsRs แทนค่าลงใน (1) (2) จะได้
R x = [ (R1*R2)*(D^2) ] / [ (1+D^2)*Rs ]
= { R1*R2*Rs*[(ωCs) ]^2} / [1+(ωCsRs)^2 ]
= (R1*R2) / Rs*[ 1 / (1+Q^2 ) ]
L x = (R1R2)*Cs / ([1+D^2])
= R1*R2*Cs* / (1+(1+Q)^2 )
จะเห็นว่า สมการสำหรับ L x กับ R x จะขึ้นอยู่กับความถี่
แต่เพราะว่า วงจรนี้ใช้วัดตัวเหนี่ยวนำที่มี Q > 10 ซึ่งถ้า Q >> 10, พจน์ (1+Q)^2 จะ << (1/100) ในกรณีเช่นนี้
สมการของ Lx จะกลายเป็น
L x = R1R2Cs
การวัดความเหนี่ยวนำร่วม (Mutual Inductance)
การวัดความเหนี่ยวนำร่วม (Mutual Inductance)
เมื่อมีการเปลี่ยงแปลงกระแสเท่ากับ it ในขดลวดที่ 1 จะทำให้เกิดเส้นแรง φ1 ถ้าส่วนของ φ1 ที่ต่อ หรือตัดขดลวดที่ 2 เท่ากับ φ12 จะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำแรงเคลื่อนไฟฟ้าในขดลวดที่ 2
EM2 = -M12 [ di1/(dt) ]
เมื่อ M12 คือ ความเหนี่ยวนำร่วมจากขดสองไปขดหนึ่ง ในทางกลับหัน ถ้าให้กระแสป้อนจากขดที่2 ทำให้เกิดเส้นแรง φ2 ที่ต่อกับขดลวดที่ 1 เท่ากับ φ21 จะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำของแรงเคลื่อนไฟฟ้าในขดลวดที่ 1
EM1 = -M21 [ di2/(dt) ]
ซึ่งจะให้ E12 = M21
= M
เส้นแรงเชื่อมต่อ (Flux Linkage) จะขึ้นอยู่กับระยะห่างและทิศทางการวางตัวของแกนขดลวดทั้งสอง นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับค่าความซึมแม่เหล็ก(Permeability) ของตัวกลาง ดังนั้นส่วนหนึ่งของเส้นแรงทั้งหมดที่เชื่อมต่อขดลวดจะเรียกว่า สัมประสิทธิ์การเชื่อมต่อ (Coefficient of Coupling) k โดยที่
k = (φ12 ) / (φ1 ) = (φ21 ) / φ2 , k ≤ 1
เมื่อ M = (N2φ12 ) / i1
= (N1φ21 ) / i2
L1 = (N1φ1 )/i1 , L2 = (N2φ2 )/i2
โดยที่ N1 , N2 คือ จำนวนรอบของขดลวด จะได้
k = (M ) / √L1L2
1.การวัดโดยใช้บริดจ์ความเหนี่ยวนำ
รูปที่ ก) แสดงขดลวดที่ต่อกัน(โดยแม่เหล็ก) จะเห็นว่าจุด (Dot) 2 จุด ที่ปลายหนึ่งของขดลวดแต่ละขด จุดนี้จะแสดงถึงปลายของขดลวดที่ In phaseกัน นั้นคือ สมมติว่าเราป้อนกระแสเข้าทางด้านปลายที่มีจุดของขดลวดที่ 1 ขณะนี้ศักย์ที่ปลาย a จะเป็นบวก จุดที่ปลายด้าน c ของขวดที่ 2 บอกว่า แรงเคลื่อนที่ถูกเหนี่ยวนำขึ้นในขดลวดขดที่2จะมีศักย์เป็นบวกที่ปลาย c หรือถ้าขด 2 ต่อครบวงจร จะมีกระแสไหลในทิศทางออกจากขดลวดทางปลายที่มีจุด โดยการนำขดลวดทั้งสองมาต่ออนุกรมกัน โดยเริ่มแรกให้ปลาย b ต่อกับ d ดังรูป ข) เมื่อป้อนกระแส i กระแสที่ไหลผ่านขดลวดทั้งสองจะเท่ากัน ขณะนี้กระแสจะไหลเข้าทางปลายขดหนึ่งทางด้านจุดและออกจากปลายขดลวดสองทางด้านจุด จะทำให้แรงดันเหนี่ยวนำร่วมมีขั้ว ในลักษณะที่แรงดันหักล้างกับแรงดันเหนี่ยวนำในตัวขดลวดเอง (Self Induced) ดังรูป ค )
ขณะนี้ความเหนี่ยวนำร่วม คือ
L¬A = (Vac )/((di/dt))
= L1 + L2 – 2M
ต่อไปถ้าต่อปลาย b เข้ากับ c ดังรูป ง). เมื่อป้อนกระแส i กระแสจะไหลเข้าสู่ขดลวดทั้งสองทางด้านปลายที่มีจุด ขณะนี้แรงดันเหนี่ยวนำเนื่องจากความเหนี่ยวนำร่วมที่ขั้ว จะเสริมกับแรงดันเหนี่ยวนำเนื่องจากความเหนี่ยวนำของตัวมันเอง ดังรูป จ). ซึ่งจะได้ความเหนี่ยวนำรวมเท่ากับ
LB = L1 + L2 + 2M
ดังนั้น โดยการต่ออนุกรมทั้ง 2 กรณีแล้วทำการวัดค่า LA, LB เราจะสามารถหาค่าความเหนี่ยวนำร่วม โดยที่
LB - LA = 4M
ดังนั้น M = ( LB – LA ) / 4
2.ตาชั่งความเหนี่ยวนำร่วมของ Felici
เป็นการเปรียบเทียบความเหนี่ยวนำร่วมที่ไม่ทราบค่า Mx กับความเหนี่ยวนำร่วมแบบแปรค่าได้ Ms ที่ได้ปรับเทียบมาแล้ว โดยต่อขดทุติยภูมิของทั้งสองในลักษณะที่ เมื่อความเหนี่ยวนำร่วมของทั้งสองเหมือนกัน แรงดันเหนี่ยวนำทางทุติยภูมิเนื่องจากกระแสทางปฐมภูมิจะมีขนาดเท่ากันแต่เฟสตรงข้ามดัน ทำให้ลัพธ์เป็นศูนย์ ดังนั้นที่สมดุล Mx = Ms
3.บริดจ์แคมป์เบล (Campbell)
เป็นบริดจ์ความเหนี่ยวนำแบบอัตราส่วน ซึ่งสามารถใช้หาค่าความเหนี่ยวนำร่วม โดยการเปรียบเทียบกับความเหนี่ยวนำ ในรูปจะเป็นการแสดงการต่อขดลวด 2 ขด ที่เราจะหาค่าความเหนี่ยวนำร่วมโดย Lp, Rp แทนอิมพีแดนซ์ของขดที่เรียกว่าขดลวดปฐมภูมิ และถูกต่ออยู่ที่แขนสำหรับต่ออิมพีแดนซ์ที่ไม่ทราบค่า ส่วนขดลวดทุติยภูมิจะต่อในลักษณะที่เมื่อต้องการจะต่ออนุกรมกับตัวตรวจจับ (Detector) การหาค่าจะกระทำเป็น 2 ขั้นตอน คือ
วงจร Campbell Bridge
1.ผลักสวิตซ์ “S” ไปสู่ตำแหน่ง “1” ทำการปรับสมดุลวงจรเหมือนเป็นบริดจ์อัตราส่วนธรรมดา เมื่อบริดจ์สมดุล จะได้
Rp = [ (Rb )/Ra ]*Rd
Lp = [ (Rb )/Ra ]* Ld
2.จากนั้นผลัก “S” ไปสู่ตำแหน่ง “2” และปรับสมดุลอีกครั้ง ในกรณีนี้เมื่อบริดจ์สมดุลแม้ว่าความต่างศักย์คร่อมตัวตรวจจับจะเป็นศูนย์ แต่ยังคงมีแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำเนื่องจากความเหนี่ยวนำร่วมปรากฏที่ขดทุติยภูมิ ถ้าให้กระแสจากแหล่งกำเนิดแยกเป็น I1 ผ่าน Ra, Rb และ I2 ผ่าน Ld, Lp จากขั้นตอนที่ 2นี้ จะสามารถเขียนสมการแรงดัน ได้เป็น
I1Ra – I2(Rd + jωLd) – I2( jωM) = 0
I1Rb – I2(Rp + jωLp) – I2( jωM) = 0
จากสมการทั้งสอง จะได้สมการสำหรับการคำนวณค่า M คือ
M = (RaLp-RbLd) / (Ra+Rb)
ความถูกต้องของบริดจ์ จะถูกจำกัดโดยความจริงที่ว่า สมการความเหนี่ยวนำร่วมจะอยู่ในรูปผลต่างของปริมาณ 2 ปริมาณ เมื่อค่าความเหนี่ยวนำร่วมที่ต้องการวัดมีค่าน้อย ความถูกต้องของค่าที่ได้ก็จะมีค่าน้อยลงด้วย
การประยุกต์บริดจ์ความเหนี่ยวนำ
1.การวัดอิมพีแดนซ์ของขดลวดลำโพง
ประโยชน์อย่างหนึ่งของบริดจ์เหนี่ยวนำคือ
ใช้วัดอิมพีแดนซ์ Zx =
(Zx = Rx + jωLx) ของขดลวดลำโพง เช่น ค่าที่วัดได้คือ Lx =
100µHโดยมี Q = 0.2 ที่ความถี่ 1
kHz ซึ่งหมายถึง
ωLx = 0.628, Rx = ωL/Q = 3.14 โอห์ม และ Zx = 3.2 โอห์ม โดยปกติเราจะหาค่าอิมพีแดนซ์ของมันที่ 1kHz และมันจะมีองค์ประกอบเชิงความต้านทาน มากกว่าองค์ประกอบเชิงความเหนี่ยวนำ ค่าพิกัดอิมพีแดนซ์สำหรับลำโพงคือ 4, 8 และ 16 โอห์ม
ωLx = 0.628, Rx = ωL/Q = 3.14 โอห์ม และ Zx = 3.2 โอห์ม โดยปกติเราจะหาค่าอิมพีแดนซ์ของมันที่ 1kHz และมันจะมีองค์ประกอบเชิงความต้านทาน มากกว่าองค์ประกอบเชิงความเหนี่ยวนำ ค่าพิกัดอิมพีแดนซ์สำหรับลำโพงคือ 4, 8 และ 16 โอห์ม
รูปแสดง
ขดลวดภายในลำโพง
|
2.การวัดความเหนี่ยวนำขดลวดเบี่ยงเบนของหลอด CRT
เราสามารถวัดค่าความเหนี่ยวนำ
และอิมพีแดนซ์ของขดลวดเบี่ยงเบนของหลอดCRT โดยการใช้บริดจ์ความเหนี่ยวนำ
ขดลวดสำหรับการเบี่ยงเบนแนวนอนสำหรับหลอดภาพขนาดเล็ก จะมีค่าความเหนี่ยวนำประมาณ 8.2
mH และมีความต้านทานของขดลวดเท่ากับ 13 โอห์ม ซึ่งเปรียบได้กับค่า Q เท่า 4 ที่ 1 kHz ขดลวดเบี่ยงเบนแนวตั้งที่ Yoke เดียวกันจะมีค่าเหนี่ยวนำ 4.8 mH และความต้านทานของขดลวด 65 โอห์ม ซึ่งเปรียบได้กับค่า Q เท่ากับ 0.46 ที่ 1 kHz
CREDIT หนังสือเรื่อง การวัดและเครื่องวัดทางไฟฟ้าโดย รศ.ดร.เอก ไชยสวัสดิ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น